วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ห่วงยางอนามัย

การใช้ห่วงยางอนามัย
ห่วงอนามัยมีหลายชนิด รูปร่างแตกต่างกัน ที่ใช้กันแพร่หลายเป็นขดพลาสติกยาว 12 เซนติเมตร ขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟขดงอเป็นรูป S สองตัวต่อกัน ห่วงอนามัยชนิดใหม่มีรูป T หรือรูปคล้ายร่ม ซึ่งมีใยลวดทองแดงพันรอบเพื่อช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สามารถใช้งานได้นาน 2-4 ปี

เวลาที่เหมาะสมในการใส่ห่วงอนามัย ได้แก่
  1. ประจำเดือนใกล้จะหมดหรือภายใน 10 วันนับจากวันแรกที่มีประจำเดือน
  2. หลังการคลอดบุตร ควรใส่หลังคลอด 6-8 สัปดาห์
  3. หลังแท้งบุตร ถ้าไม่มีการติดเชื้อสามารถใส่ได้ทันที
  4. ถ้าใช้เป็นการคุมกำเนิดหลังการ่วมเพศ ควรใส่ภายใน 5 วันหลังร่วมเพศ

สตรีที่ไม่สามารถใส่ห่วงอนามัย ได้แก่

ผู้ที่มีการอักเสบของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ผู้ที่สงสัยหรือตั้งครรภ์แล้ว สตรีที่ประจำเดือนออกมากหรือมีเลือดออกผิดปกติในโพรงมดลูก มดลูกผิดปกติ ปวดประจำเดือนมาก หรือเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง หรือเคยตั้งครรภ์นอกมดลูก สตรที่ยังไม่เคยมีบุตร

ยาฝังคุมกำเนิด

การใช้ยาฝังคุมกำเนิด
ยาฝังคุมกำเนิด (implant) เป็นฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนบรรจุหลอดฝังไว้ใต้ผิวหนัง แล้วฮอร์โมนจะซึมเข้ากระแสโลหิตในอัตราคงที่ เป็นขนาดฮอร์โมนที่น้อยที่สุดซึ่งสามารถออกฤทธิ์ป้องกันการตกไข่ได้ โดยจะออกฤทธิ์ได้นาน 1-5 ปี

ข้อแนะนำก่อนฝังยาคุมกำเนิด ได้แก่
  1. อาจมีประจำเดือนผิดปกติ เช่น เลือดออกกะปริดกะปรอย ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาน้อยหรือไม่มาเลย
  2. อาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น บางรายอาจมีฝ้าขึ้นที่ใบหน้า ปวดศรีษะอารมณ์เปลี่ยนแปลง บางรายอาจมีปัญหาบริเวณที่ฝังยาอักเสบ หรือ ติดเชืี้อ

ข้อดีของการใช้ยาฝังคุมกำเนิด

  1. ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดสูง ใช้ง่าย รับบริการครั้งเดียวสามารถคุมกำเนิดได้นานถึง 5 ปี
  2. ปลอดภัยจากอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง
  3. เมื่อต้องการมีบุตรอีก สามารถตั้งครรภ์ได้ทันทีหลังถอดยาฝังคุมกำเนิด
  4. ไม่มีผลเสียต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำนมมารดา จึงสามารถใช้ได้ในสตรีหลังคลอด 6 สัปดาห์ขึ้นไปที่ให้นมบุตร
ข้อเสียของการใช้ยาฝังคุมกำเนิด
  1. ราคาแพง
  2. มีอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ประจำเดือนผิดปกติ ปวดศรีษะ
  3. ทีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
  4. ผู้ให้บริการต้องเป็นแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขที่ฝึกอบรมแล้ว จึงจะสามารถให้บริการได้
  5. มีแผลตรงตำแหน่งที่ฝังยา

ยาฉีดคุมกำเนิด

การใช้ยาฉีดคุมกำเนิด
ยาฉีดคุมกำเนิดเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ ที่ออกฤทธิ์ได้นานที่นิยมใช้มากเป็นพวก DMPA (Depsmedroxy Progesterone Acetate) ขนาด 150 มิลลิกรัม ฉีดทุก ๆ 3 เดือน ยาฉีดคุมกำเนิด สามารถป้องกันการตั้งครรภ์และออกฤทธิ์ได้เช่นเดียวกับยาเม็ดคุมกำเนิด อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ควรใช้ยาฉีดคุมกำเนิด ได้แก่
  1. ผู้ที่มีบุตรเพียงพอแล้ว และกลัวการทำหมัน
  2. เคยใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น ๆ แล้วมีอาการข้างเคียงมาก
  3. เป็นโรคเรื้อรังและไม่ควรมีบุตรอีก เช่น โรคไต โรคหัวใจ เป็นต้น
  4. เป็นโรคซึ่งไม่เหมาะที่จะใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่น เช่น มีเนื้องอกที่มดลูก
  5. อยู่ในช่วงการให้นมบุตร

สำหรับผู้ที่ไม่ควรใช้ยาฉีดคุมกำเนิด ได้แก่

  1. ผู้ที่ยังไม่มีบุตร ผู้ที่อายุน้อยหรือประจำเดือนมาไม่ปกติ
  2. มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด โดยไม่ทราบสาเหตุ
  3. ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์
  4. เป็นมะเร็งหรือสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งที่อวัยวะสืบพันธุ์
  5. เป็นโรคตับ หรือเป็นโรคเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การใช้ถุงยางอนามัย

นับเป็นวิธีที่ถือว่าปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ด้วย แต่ฝ่ายชายจำนวนไม่น้อยใส่ถุงยางอนามัยไม่ถูกต้อง ที่ถูกก็คือต้องบีบปลายถุงยางไล่อากาศก่อน จากนั้นจึงสวมแล้วรูดให้สุดโคน เมื่อผู้ชายหลั่งน้ำอสุจิเสร็จแล้วต้องรีบดึงถุงยางออกนะ อย่าให้น้ำอสุจิเลอะเทอะออกมาภายนอก ห้ามใช้ซ้ำเด็ดขาดนะ แถมยังห้ามใช้กับสารหล่อลื่นประเภทน้ำมันด้วย ต้องใช้กับสารที่ออกแบบมาให้ใช้กับถุงยางอนามัยเฉพาะ

วิธีนี้ป้องกันได้ 98% แต่มีข้อเสียนิดหน่อยตรงที่ เจ้าถุงยางอนามัยนี้อาจฉีดขาดหรือหลุดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้

ถ้าเกิดหลุดหรือฉีกขาดก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะทางแก้ยังมีนั้นคือ ต้องรีบรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์

ถุงยางอนามัยส่วนใหญ่ทำจากยางลาเท็กซ์ใช้สวมคลุมอวัยวะเพศชายในระหว่างร่วมเพศ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้ออสุจิของฝ่ายชายเข้าไปผสมกับไข่ของฝ่ายหญิงผู้ที่เหมาะในการใช้ถุงยางอนามัย ได้แก่
  1. ผู้ที่อยู่ในระยะหลังคลอดใหม่ ๆ หรืออยู่ในระหว่างการให้นมบุตร
  2. ผู้ที่ยังหาวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมไม่ได้ หรือ ไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์
  3. ฝ่ายหญิงเป็นโรคที่เป็นข้อห้ามในการคุมกำเนิดวิธีอื่น
  4. ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์
  5. ใช้ร่วมกับการนับระยะปลอดภัย
  6. เหมาะสมและปลอดภัยที่สุดสำหรับวัยรุ่น

ข้อดีของการใช้ถุงยางอนามัย

  1. ปลอดภัย ราคาถูก หาได้ง่าย พกพาสะดวก ใช้ได้เองโดยไม่ต้องปรึกษาแพทย์
  2. ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  3. มีประสิทธิภาพสูงถ้าใช้อย่างสม่ำเสมอ และใช้อย่างถูกวิธี
  4. ช่วยยืดเวลาการหลั่งน้ำอสุจิของฝ่ายชาย
  5. ไม่มีผลต่อการเจริญพันธ์เมื่อหยุดใช้

ข้อเสียของการใช้ถุงยางอนามัย

  1. มีควรมล้มเหลวสูงจากผู้ที่ใช้ไม่ถูกวิธี
  2. ขัดจังหวะในการมีเพศสัมพันธ์ และลดความรู้สึกสัมผัสของทั้งสองฝ่ายขณะร่วมเพศ
  3. ทั้งชายและหญิงอาจเกิดการระคายเคืองจากยางลาเท็กซ์หรือสารหล่อลื่น

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คุมกำเนิดแบบไหนดี

ดูง่าย คุมง่าย คุมแบบไหนดี

หลั่งข้างนอก = เสี่ยงตั้งท้องหรือไม่ก็น้องเราติดโรค
นับหน้า 7 หลัง 7 = นับจริง ตั้งใจจริง บันทึกจริง ถึงจะปลอดท้อง แต่ไม่ปลอดโรค
หลั่งข้างนอก + นับหน้า 7 หลัง 7 = เสี่ยงท้องน้อยลง แต่เสียงโรคเหมือนเดิม
ถุงยางอนามัย = ป้องกันท้อง (98%) ป้องกันโรค จะไม่โศกถ้าใช้ถูกวิธี
ถุงยางอนามัย + นับหน้า 7 หลัง 7 = ป้องกันท้องได้สูง แต่คะแนนจะพุ่งก็ต่อเมื่อเช็คมีเซ็กซ์ตามตาราง
ยาคุมแบบรับประทาน = สะดวก ป้องกันท้องเกือบ 100% ยกเว้นป้องกันโรค
ยาคุมแบบแปะ = ป้องกันท้องเกือบ 100% ยกเว้นป้องกันโรค มีส่วนเกินบนผิว แถมอาจจะระคายเคืองผิวได้
ยาคุมแบบฉีด = ป้องกันท้องเกือบ 100% ยกเว้นป้องกันโรค แอบโศกกับผลข้างเคียงสูง
ห่วงคุมกำเนิด = คุมได้ยาว แต่สำหรับสาวเคยมีลูกแล้ว
ยาคุมฉกเฉิน = ต้องฉุกเฉินจริง ไม่งั้นอันตรายมาก โอกาสท้องสูงอีกต่างหาก
ยาคุมแบบรับประทาน + ถุงยางอนามัย = ไม่ท้องเกือบ 100% ไม่ติดโรคเกือบ 100% ไม่ต้องมานั่งโศก มั่นใจไร้กังวล